NFT (Non-Fungible Token) คืออะไร?

NFT

คือ คริปโตเคอร์เรนซี่ Cryptocurrency ประเภทหนึ่งที่แสดงความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ ซึ่งเป็น Token ประเภทหนึ่งที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ ซึ่งมีเอกลักษณ์ จะถูกใช้กับงานศิลปะ เช่น รูปภาพ เพลง หนัง ไอเทมเกม ถูกซื้อขายบนตลาด(แพลตฟอร์ม) NFT เท่านั้น ไม่สามารถเทรดบนกระดานคริปโตทั่วไปอย่าง Bitkub หรือ Binance ได้เหมือน Bitcoin หรือ Eth

ลักษณะเฉพาะตัวของ NFT

คือ ไม่มีอะไรมาทดแทนได้ ทำให้ไม่สามารถซื้อเป็น “หน่วยย่อย” ได้ เหมือน Cryptocurrency ประเภทอื่นๆ NFT ตามตลาดคริปโต ทั่วไป จะต้องซื้อเต็มหน่วยเท่านั้น ผ่านตลาดแพลตฟอร์มต่างๆ ซื้อขายกันได้ทั่วโลก

ผลงาน NFT (Non-Fungible Token) ที่นิยมมีอะไรบ้าง

ผลงาน NFT จะออกมาในรูปแบบของงานศิลปะ คลิปวิดีโอ ของสะสม เสื้อผ้า แสตมป์ การ์ดเกม ฯลฯ ทุกชิ้นงานที่ออกมาจะถือว่า เป็นของชิ้นเดียวในโลก เป็นลิขสิทธิ์ของเราเอง สามารถแปลงผลงานเหล่านั้นให้อยู่บนออนไลน์ในรูปแบบ NFT ตามขั้นตอนการเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ลงออนไลน์

จากนั้นนำ NFT ไปขายต่อ และโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ต้องมีคนกลาง ผ่านระบบบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งสามารถตรวจสอบผลงานที่อาจถูกขายต่อเป็นทอดๆ ได้ว่ามีใครเคยเป็นเจ้าของผลงานชิ้นนี้มาแล้วบ้าง อีกทั้งยังสามารถนำออกประมูลเพื่อเพิ่มราคาได้ด้วย เป็นการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของเรา

ดังนั้น คนที่ซื้อ-ขายงาน NFT ไม่ได้มีแค่ศิลปินหรือนักสะสม แต่ยังมีนักลงทุนหลายคนที่ตั้งใจเข้ามาซื้อเก็งกำไร แล้วนำไปขายต่อเพื่อทำกำไรได้อีก

ข้อดี ข้อเสีย NFT

ข้อดี
1.       ระบุความเป็นเจ้าของได้

อธิบายเพิ่ม คือ NFT เป็นสินทรัพย์ที่มีเทคโนโลยีบล็อกเชนอยู่เบื้องหลัง ทำสามารถผูกสินทรัพย์ไว้กับบัญชีเพียงบัญชีเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ NFT 1 ชิ้น ยังไม่สามารถแบ่งแยกได้ด้วย ซึ่งนั้นคือ ความสามารถในการระบุตัวตนผู้ถือครองเพียงบัญชีเดียวเท่านั้นนั้นเอง

2.       ระบุความเป็นต้นฉบับหรือของแท้ได้

อธิบายเพิ่ม คือ นอกจากการผูก NFT ไว้กับผู้ถือครองบัญชีเดียวแล้ว ยังมีการบันทึกความเป็นของแท้หรือต้นฉบับไว้บนเทคโนโลยีบล็อกเชนอีกด้วย ทำให้ NFT แต่ละชิ้นไม่สามารถถูกคัดลอก ทำซ้ำ หรือเปลี่ยนแปลงได้

3.       สามารถโอนให้กันได้

อธิบายเพิ่ม คือ ถือเป็นข้อเด่นของ NFT ในวงการเกม จากแต่ก่อนที่ผู้เล่นซื้อไอเทมใรเกม เพื่อเอาไว้ใช้เสริมตัวละคร หรือเล่นภายในเกม แต่เมื่อเลิกเล่นไอเทมที่เสียเงินซื้อไปแล้วเหล่านี้ก็ไม่สามารถนำไปทำอย่างอื่นได้ แต่เมื่อนักพัฒนาเกมได้ทำพัฒนาเกม NFT ขึ้น ไอเทมต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาก็จะอยู่ในรูปแบบของ NFT สามารถนำไปขายต่อในตลาดเพื่อทำกำไร หรือโอนไปเก็บไว้ในกระเป๋าดิจิทัลก็ได้เช่นกัน

ข้อเสีย
1.       ไม่สามารถใช้แทนชิ้นงานจริงได้ หรือให้สัมผัสได้

อธิบายเพิ่ม คือ ผลงานศิลปะนั้นเป็นการสะสมผลงานศิลปะที่วาดลงบนกระดาษหรือผืนผ้าใบส่วนหนึ่ง เนื่องจากผู้ซื้อต้องการชิ้นงานที่จับต้องได้ ต้องการชื่นชมผลงานจริง ดังนั้น NFT จึงไม่สามารถทดแทนส่วนนี้ หรือข้อนี้ได้

2.       คุณค่าของงานไม่ชัดเจน

อธิบายเพิ่ม คือ ผลงานจะไม่สามารถทำซ้ำได้ คัดลอกต้นฉบับได้ สามารถระบุได้ว่าใครเป็นเจ้าของ แต่ในทางปฏิบัติสมมุติซื้อภาพ Sectcrypto 1 ภาพ เราจะได้เพียงสิทธิ์การเป็นเจ้าของ หากมีใครมาคัดลอกรูปนั้นไปตั้งเป็นโปรไฟล์ในโซเซียลก็สามารถทำ จึงเป็นที่มาของคุณค่างานที่ไม่ชัดเจน

3.       ค่าใช้จ่ายสูง

อธิบายเพิ่ม คือ นอกจากค่าชิ้นงานที่ต้องจ่ายแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่า Gas เป็นต้น ซึ่งเป็นค่าบริการที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมอีกด้วย ซึ่งบางแพลตฟอร์มการทำธุรกรรม 1 ครั้งจะต้องจ่ายเป็นหลักพันบาทเลยมีเดียว

กฎหมาย NFT สินทรัพย์ดิจิทัล ในประเทศไทย

ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ไม่ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับ NFT ไว้โดยเฉพาะ แต่กำหนดขอบเขตของสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้การกำกับดูแลไว้ 3 ประเภท ได้แก่

1.      คริปโทเคอร์เรนซี

เป็นเหรียญดิจิทัลที่ใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยกัน

2.      โทเคนดิจิทัล เพื่อการลงทุน หรือ investment token

เป็นเหรียญดิจิทัลที่ให้สิทธิในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใดๆ

3.      โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ หรือ utility token

เป็นเหรียญดิจิทัลที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง

โดยแบ่งเป็น utility token พร้อมใช้ และ utility token ไม่พร้อมใช้

  • utility token พร้อมใช้ ผู้ถือเหรียญสามารถใช้สิทธิแลกสินค้าหรือใช้บริการได้ทันทีตั้งแต่วันที่เสนอขายครั้งแรก
  • utility token ไม่พร้อมใช้ ผู้ถือเหรียญจะยังไม่สามารถใช้สิทธิแลกหรือใช้ประโยชน์สินค้าหรือบริการนั้นได้ในวันเสนอขาย แต่ต้องรอใช้สิทธิในอนาคต

NFT คืออะไร แตกต่างกับ Cryptocurrency, Defi อย่างไร

NFT
Cryptocurrency
Defi
  • NFT คือ สินทรัพย์หรือเหรียญดิจิทัลแบบ ‘Non-Fungible Token’ โดยมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถทำซ้ำ หรือทดแทนกันได้
  •  NFT เป็นนวัตกรรมที่บ่งชี้ว่าเราสามารถเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นได้แต่เพียงผู้เดียว
  • Cryptocurrency คือ สินทรัพย์หรือเหรียญดิจิทัลประเภท Fungible Token ที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ สามารถแลกเปลี่ยนหรือทดแทนกันได้
  • DeFi หรือ Decentralized Finance นั้น รากฐานเกิดจากระบบของ Bitcoin และ Ethereum เกิดจากการรวมตัวกันของคอมมูนิตี้ Ethereum Developer ในโปรเจกต์ต่าง ๆ

อยากเริ่มต้นทำ NFT สร้างรายได้ จะเริ่มอย่างไรดี

  1. ต้องมีกระเป๋าเงิน เพื่อเก็บสกุลเงินดิจิทัลก่อนอย่างเช่น Metamask หรือ Trust Wallet เป็นต้น ต้องติดตั้งลงบนเว็บเบราว์เซอร์ในคอมพิวเตอร์ หรือโหลดมาใช้ได้บนสมาร์ทโฟนทั้งระบบ iOS และ Android ได้
  2. เลือกเปิดบัญชีซื้อขาย Cryptocurrency กับตลาดซื้อ-ขาย สำหรับในประเทศไทยอาจต้องอ่านข้อกำหนดข้อกฎหมาย หรือข้อการยอมรับวิธีการต่างๆ เพิ่ม
  3. ถ้าเปิดกับตลาดต่างประเทศ สามารถทำได้เลย และมีจำนวนคนใช้จำนวนมากทั่วโลก
  4. เมื่อเปิดบัญชีเสร็จเรียบร้อย จะต้องมีเงินดิจิทัลที่ชื่อว่า ETH (Ethereum) ประมาณ 0.01-0.05 ทั้งนี้ราคาซื้อ อาจต้องดู ณ ช่วงเวลานั้น (ค่าเงินปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา)
  5. เมื่อซื้อเสร็จเรียบร้อยให้โอนเหรียญ ETH กลับเข้าไปในกระเป๋าเงินของเราเอง ซึ่งขั้นตอนนี้สำคัญมาก อย่าใส่ที่อยู่ของกระเป๋าเงินผิดเด็ดขาด เพราะจะไม่สามารถกู้คืนมาได้ หากใส่ที่อยู่กระเป๋าเงินผิดพลาดไป
  6. เตรียมผลงานที่จะนำมาเปลี่ยนเป็นทรัพย์สิน NFT ให้พร้อม
  7. สามารถใช้นามสกุลไฟล์ เช่น PNG, GIF, MP4 เป็นต้น แต่ถ้าผลงานเป็นผลงานที่ยังอยู่ในกระดาษ หรือเฟรมผ้าใบ ต้องนำมาสแกนให้เป็นไฟล์ดิจิทัลก่อน
  8. เมื่อเตรียมผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้อัพโหลดผลงานเข้าสู่ตลาด ในขั้นตอนนี้อาจตั้งค่าบัญชีการขายของเรา เตรียมสกุลเงินดิจิทัล ที่เป็นของตลาดที่เราไปวางขาย เพื่อเป็นค่า Gas Fee ทำธุรกรรมด้วยนั่นเอง

NFT ราคาแพงที่สุด

5CryptoPunk #7804

1. Everydays: The First 5000 Days

ราคาขาย : 69.3 ล้านดอลลาร์

ศิลปิน : Beeple ผลงานตัดปะของ Mike Winkenmann หรือชื่อในวงการว่า Beeple ที่รวมเอาผลงานดิจิทัลที่สร้างขึ้นมาวันละชิ้น ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2550 มาตัดปะรวมกัน ถูกขายในวันที่ 11 มี.ค. 64 ที่งานประมูลของ Christie’s

Human One

2. Human One

ราคาขาย : 28.9 ล้านดอลลาร์

ศิลปิน : Beeple ผลงานของ Winkelmann (Beeple) เป็นงานแบบไฮบริดที่ผสมดิจิทัลและกายภาพเข้าด้วยกัน โดย Christie’s ให้นิยามว่าเป็นงานแบบ Sculpture ผสมผสานกับ NFT

CryptoPunk #7523

3. CryptoPunk #7523

าคาขาย : 11.75 ล้านดอลลาร์

ศิลปิน : Larva Labs หมายเลข #7523 หนึ่งในผลงานจากคอลเล็กชัน CryptoPunks ของ Larva Labs เป็นตัวละครศิลปะพิกเซลซึ่งมีจุดเด่นที่การสวมหน้ากากอนามัยและหมวกศัลยแพทย์ ถูกขายในราคา 11.75 ล้านดอลลาร์ที่งานประมูลของ Sotheby’s

CryptoPunk #3100

4. CryptoPunk #3100

ราคาขาย : 7.67 ล้านดอลลาร์

ศิลปิน : Larva Labs หมายเลข #3100 ผลงานของ Larva Labs ในคอลเล็กชัน CryptoPunks เป็นรูปมนุษย์ต่างดาวสวมผ้าคาดศีรษะ ถูกประมูลในราคา 7.67 ล้านดอลลาร์เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 64 บน OpenSea (แพลตฟอร์ม NFT ใหญ่ที่สุดในโลก)

CryptoPunk #7804

5. CryptoPunk #7804

ราคาขาย : 7.57 ล้านดอลลาร์

ศิลปิน : Larva Labs หมายเลข #7804 เป็นอีกหนึ่งผลงานของ Larva Labs ในคอลเล็กชัน CryptoPunks เป็นรูปมนุษย์ต่างดาวสวมหมวกแก๊ป แว่นตา และสูบไปป์ ถูกประมูลในราคา 7.57 ล้านดอลลาร์เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 64 ทั้งนี้ ข้อมูลตัวเลขเหล่านี้รวบรวมเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 64 ปัจจุบันมูลค่าอาจมีการเปลี่ยนแปลง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *