Vasil Hard Fork คืออะไร?
คือ Vasil เป็นการอัปเกรดครั้งใหญ่ที่สุดของ Cardano นับตั้งแต่ Alonzo Hard Fork
Cardano (ADA) นั้นเป็นเหรียญที่ถูกพูดถึงในการเก็งกำไรอยู่ไม่น้อยในช่วงที่ผ่านมานี้ด้วยการ Vasil Hardfork ซึ่งเป็นการอัพเกรดบล็อกเชนของ Cardano ครั้งต่อไป
ในเทคโนโลยีบล็อกเชน Hard Fork หมายถึง การอัปเกรดครั้งใหญ่ในโปรโตคอลของเครือข่ายบล็อกเชน อาจจะด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย หรือยกระดับประสิทธิภาพ โดยจะแบ่งเชนออกเป็น 2 ส่วน หรือมากกว่านั้น ส่งผลให้เกิดการตรวจสอบบล็อกและธุรกรรมซึ่งก่อนหน้านี้ใช้ไม่ได้ผล
บ่อยครั้งที่ Hard Fork นำไปสู่การแยกเชนอย่างถาวร เนื่องจากเวอร์ชันไม่เข้ากับกับเวอร์ชันใหม่อีกต่อไป ซึ่งผู้ที่ถือโทเคนบนเชนเก่าจะได้รับโทเคนในเชนใหม่เนื่องจากมีประวัติเดียวกัน
Hard Fork เป็นการอัปเกรดที่จำเป็นต่อการปรับปรุงเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มฟังก์ชัน การเพิ่มความปลอดภัยของเครือข่าย การแก้ไขข้อขัดแย้งภายในชุมชน หรือการย้อนกลับการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน

Vasil Hard Fork มีสำคัญอย่างไร?
‘Vasil hard fork’ เป็นการอัปเกรดเพื่อลดขนาดของธุรกรรมที่เกิดขึ้นในเครือข่าย จึงเป็นผลให้สามารถประมวลผลธุรกรรมได้มากขึ้น และยังเป็นการลดค่าธรรมเนียมธุรกรรม (ค่า Gas) ให้ราคาถูกลงได้อีก
1. CIP-31 (Reference Inputs)
Cardano ตั้งเป้าที่จะนำเสนอ Input ประเภทใหม่ที่เรียกว่า Reference Input ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถมองดู Output ได้โดยไม่ต้องดำเนินธุรกรรม เป้าหมายของ CIP-31 คือการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในเครือข่าย โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียธุรกรรม หรือการสร้างธุรกรรมที่ไม่ได้ใช้ (UTXO) ใหม่ และยังช่วยให้ DApps หลายตัวสามารถอ่านข้อมูลจาก Datum เดียวกัน ได้ในเวลาเดียวกัน
2. CIP-32 (Inline Datums)
Proposal นี้มุ่งเป้าไปที่การอนุญาตให้สามารถแนบ Datum (ข้อมูลสถิติ, ตัวเลข) ไปกับ Output แทนที่จะแนบไปกับ Hash (กลไกในการแปลงข้อมูล) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับสคริปต์ได้ง่ายขึ้น และเร็วขึ้นเพราะไม่ต้องรวมข้อมูล
3. CIP-33 (Reference Scripts)
เป้าหมายของ Reference Scripts คือการลดต้นทุนการทำธุรกรรม โดยการอนุญาตให้ Reference Scripts แนบไปกับ Output ในขณะที่ยังอนุญาตให้ใช้สคริปต์ดังกล่าวได้ตลอดทั้งกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องแทนที่จะร้องขอให้ดำเนินธุรกรรมให้เสร็จสิ้น
4. CIP-40 (Collateral Outputs)
กลไกนี้ประกอบไปด้วย Output ของธุรกรรมประเภทใหม่ที่เรียกว่า Collateral Outputs มีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภาพรวมของการปรับขนาด (Scaling) ของเครือข่าย
5. Diffusion Pipelining
กลไกนี้จะทำให้กระบวนการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกที่สร้างขึ้นใหม่ในหมู่ผู้เข้าร่วมเครือข่ายนั้นคล่องตัว โดยทำให้แน่ใจว่าสามารถเผยแพร่บล็อกในเครือข่ายได้ดีภายใน 5 วินาทีหลังจากการสร้าง อีกทั้งยังมุ่งเป้าไปที่การทำงานข้ามเชนให้เกิดขึ้นได้พร้อมกัน