เรื่องของภาษีคริปโคต้องย้อนพูดถึง “คริปโตเคอร์เรนซี” คือ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นมาเพื่อใช้แลกเปลี่ยนเสมือนเป็นเงิน แต่ไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้เหมือนธนบัตรหรือเหรียญเงินทั่วไป ดังนั้น จึงจัดว่าเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี เป็นทรัพย์สินดิจิทัล ที่สามารถซื้อขาย แลกเปลี่ยน และสะสมได้นั้นเอง
สิ่งสำคัญที่นักลงทุนมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับการลงทุนในคริปโตฯ คือการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ ซึ่งรายได้ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีคริปโตฯ มีดังนี้
– กำไรจากการขายคริปโทเคอร์เรนซี ให้หักภาษี 15%
กำไรจากการซื้อขายเหรียญคริปโตฯ หรือลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร จะถือเป็น เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ฌ) เงินได้จากผลประโยชน์/กำไร ที่ได้รับจากการโอนคริปโตฯ หรือโทเคนดิจิทัล ซึ่งนักลงทุนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%
การหักภาษี 15% ไม่ได้ถือว่าเป็น final tax แม้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้ว แต่ก็ยังต้องนำ เอาส่วนแบ่งกำไร หรือกำไรจากขายที่เกิดขึ้นมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย และหักค่าใช้จ่ายไม่ได้
-รายได้จาก คริปโทเคอร์เรนซี หักค่าใช้จ่ายภาษีไม่ได้
-ถูกหักภาษี 15% ไปแล้ว ต้องนำมายื่นภาษีประจำปีด้วย
-เมื่อซื้อขายผ่านกระดานเทรด Exchange แล้วเก็บเงินเอาไว้ โดยไม่ถอนเงินสดออกมา ก็ต้องเสียภาษีอยู่ดี
-เหรียญที่ได้จากการ Locked Staking ก็ต้องเสียภาษีด้วย
มีเงินได้เพิ่มขึ้นมาอีก 2 ประเภทที่เข้าเกณฑ์เสียภาษี ได้แก่
- ส่วนแบ่งกำไรจากการถือครองโทเคนดิจิทัล เช่น ส่วนแบ่งที่ได้รับจากโปรแกรม Ziplock ของ Zipmex Token
- กำไรจากการขายโทเคนดิจิทัลและคริปโตฯ โดยตรง (ซึ่งกรณีนี้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%)




เช็ครายได้ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีคริปโตฯ
- การจำหน่าย จ่าย โอน หรือ แลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล
- การขุดคริปโทเคอร์เรนซี
- การได้รับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินเดือน หรือ ค่าจ้าง
- การได้รับคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล จากการให้ หรือ ได้รับเป็นรางวัล
- ได้รับผลประโยชน์ หรือ ผลตอบแทนจากการถือครอง ทั้งจากคริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัล
แนวปฏิบัติการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ ของกรมสรรพากร คือ
- ยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% เนื่องจากซื้อ-ขายคริปโตฯ ผ่าน Exchange Platform ยังไม่สามารถระบุตัวตนของผู้รับเงิน และไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่ต้องหัก จึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบความถูกต้อง ทำให้ไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้
- สามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกำไรในปีภาษีเดียวกัน เพื่อใช้คิดเงินได้ในการคำนวณภาษี จากเดิมที่ให้คิดเฉพาะรายการที่ได้กำไร
- วิธีการคำนวณภาษีคริปโตฯ สามารถทำได้ 2 วิธีคือ วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน (First in, First out: FIFO) และวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost)
- การวัดมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล ให้วัด ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ย
ทั้งนี้ แนวปฏิบัติเรื่องการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ข้อ 1) และการนำผลขาดทุนมาหักลบกำไร (ข้อ 2) จะมีผลเฉพาะการซื้อขายผ่าน Exchange Platform ที่อยู่ภายใต้การดูแลของก.ล.ต. เท่านั้น และยังคงต้องนำเงินได้จากคริปโตฯ มารวมกับเงินได้อื่นๆ เช่น เงินเดือน เงินจากธุรกิจ แล้วนำมาหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นๆ เพื่อยื่นภาษีประจำปี และจ่ายภาษีแบบขั้นบันได 5-35% โดยจะต้องยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90/91 สำหรับปีภาษีที่มีเงินได้ดังกล่าว ภายในวันที่ 31 มี.ค. ของปีถัดไป
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ “ภาษีคริปโตฯ”
สินทรัพย์ดิจิทัล ใน พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 นั้นหมายถึง คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล แปลว่า กำไรที่มาจากสินทรัพย์ ดังกล่าวเข้าเกณฑ์เสียภาษี
โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ คือ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ที่ได้แก้ไขข้อกฎหมายเพิ่มเติมในมาตรา 40 และมาตรา 50 ดังนี้
มาตรา 40 (4) (ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล |
มาตรา 40 (4) (ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน |
มาตรา 50 (ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ |
สรุป
บทสรุปเรื่องการจ่ายภาษีคริปโตฯ นั้น นักลงทุนส่วนใหญ่จะมีความเข้าใจเรื่องนี้อยู่บ้างแล้ว แต่อาจจะไม่ได้รู้ข้อมูลทั้งหมดนัก ซึ่งถ้าหากจะขายเพื่อทำกำไร อาจต้องยอมรับเงื่อนไขของเว็บเทรดในประเทศไทยอยู่แล้ว
แต่การเก็บภาษีนั้น ก็ทำให้หลายคนเลือกที่จะมองหาเว็บเทรดในต่างประเทศที่ไม่มีการเก็บภาษีไว้มาสำรองเพื่อนการลงทุนต่อไป แต่แลกมาด้วยความเสี่ยงของข้อมูล หรือทรัพย์สินที่ถ้าหากโดนขโมยข้อมูลไป ก็ไม่สามารถตามคืนมาได้
ในข้อนี้ต่างจากเว็บเทรดในประเทศไทยอยู่ตรงที่มี กลต. คอยดูแลในส่วนนี้ให้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักลงทุนว่าหากรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับเงินของเราได้ การลงทุนในเว็บเทรดต่างประเทศอาจถูกใจมากกว่า แต่ต้องการความปลอดภัย ลงทุนแบบเสี่ยงน้อย แต่อาจต้องแลกมาด้วยการต้องเสียภาษีให้ถูกต้องนั้นเองค่ะ